วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
จรัล ดิษฐาอภิชัย.
คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับพลเมือง กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา , 2547. 128 หน้า.
1. มนุษยชน.     2. สิทธิของพลเมือง.  3. ชื่อเรื่อง. 323
ISBN   974-91903-5-1

ชื่อหนังสือ                   คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับพลเมือง
ISBN                           974-91903-5-1
ผู้เขียน                          จรัล  ดิษฐาอภิชัย
ปีที่พิมพ์                       ธันวาคม  2546
จำนวนพิมพ์                1,000 เล่ม
เจ้าของ                                    สถาบันนโยบายศึกษา : 99/146  ถนนงามวงศ์วาน  แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร     กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0 2941  1832-3  โทรสาร  0 2941 1834
สนับสนุนโดย             มูลนิธิคอนราด  อาเดนาวร์
ภาพประกอบ               ชัยวุฒิ  แก้วเรือน
ดำเนินกาพิมพ์             บริษัท พี. เพรส จำกัด โทร 0 2742 4754-5
พิมพ์ที่                         บริษัท  สุขุมและบุตร  จำกัด
จัดจำหน่ายโดย            ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ถนนพญาไท  ปทุมวัน  กรุงเทพฯ  10300 
ศาลาพระเกี้ยว  โทร  0 2255  4433,   0 2218  7000 โทรสาร 0 2255 4441
 สยามสแควร์  โทร  0 2251 6141,  0 2218 9888  โทรสาร  0 2254 9495



 สิทธิในความเชื่อ  การพูด  และการแสดงความคิดเห็น
ทำไมเสรีภาพในความเชื่อ  การพูดและการแสดงความคิดเห็นจึงมีความสำคัญ ?
            มนุษย์เป็นสัตว์ที่คิดได้ ด้วยมี สมอง มีสติปัญญา   อารมณ์  ความรู้สึก และมี ปาก ”  เพื่อพูด แสดงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดเห็น การแสดงออกดังกล่าวเป็นธรรมชาติและเป็นความจำเป็นของมนุษย์เรา  อันไม่เพียงแต่เป็นการบอกให้รู้ว่าคิดอย่างไร ต้องการอะไร เท่านั้น หากยังมีผลต่อชุมชนและต่อสังคมอีกด้วย มนุษย์จึงต้องการเสรีภาพในการคิด การพูด การเขียน หรือการแสดงออกไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นแตกต่างกัน เสรีภาพนี้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด  ถือเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง  ผู้ปกครองหรือผู้ใดจึงไม่ควรห้ามคนเราคิดหรือพูด  นอกเสียจากว่าการพูดนั้นเป็นการพูดดูหมิ่น ดูถูกหรือทำให้เกิดความเสียหาย
            ความคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคลมีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง  และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ทุกคนมีความคิด ความเชื่อไปในทางเดียวกัน รัฐและสังคมจะต้องยอมรับและเคารพในความคิดและความเชื่อที่แตกต่างหลากหลาย และการรับฟังความคิด ความเห็นที่แตกต่างก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาปัจเจกและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลสาธารณะ ย่อมต้องเปิดใจกว้างให้สื่อมวลชนและประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะว่าเสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์
            เสรีภาพทางความคิด เป็นเสรีภาพพื้นฐานประการหนึ่งของพลเมืองในประเทศระบอบประชาธิปไตย แล้วก็จะได้รับการรับรองและค้ำประกันโดยรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยทุกประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของเราฉบับปัจจุบันนำมาบัญญัติไว้หลายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 38 และมาตรา 39
            มาตรา  38 “ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนาหรือลัทธิ นิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฎิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฎิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน…”
            มาตรา 39 “ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด  การขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
ที่ผ่านมา สังคมไทยมีปัญหาด้านเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ อย่างไร?
            ในรอบปีที่ผ่านมา มีการละเมิดเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง รูปธรรมที่สะท้อนได้ชัดเจนมากก็คือ เสรีภาพของสื่อมวลชนถูกละเมิดเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็นหลายกรณีไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของสื่อมวลชนและครอบครัว โดยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความผิดฐาน อั้งยี่ ซ่องโจร และความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีภาษีศุลกากร ซึ่งถูกสังคมตั้งคำถามว่ามีการเลือกปฏิบัติและมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนหรือไม่ รวมถึงความเหมาะสมในการตรวจสอบดังกล่าว
            การแทรกแซงเสรีภาพของสื่อมวลชนยังรวมถึงการสั่งยกเลิก หรืองดออกอากาศรายการวิทยุและโทรทัศน์หลายรายการ มีการสั่งตรวจสอบ โดยใช้เงื่อนไขของธุรกิจว่าไม่ชำระค่าเช่าตามสัญญา หรือมีโฆษณาแฝง ทั้งๆ ที่บางช่องที่มีลักษณะเดียวกันแต่กลับมีโฆษณาได้ แต่ที่ผ่านมามีจุดร่วมว่าสื่อมวลชนที่ถูกตรวจสอบหรือแทรกแซงมักเป็นสื่อมวลชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
            บางกรณีก็มีการเชิญบุคคลที่กำลังมีข้อพิพาทกับผู้มีอำนาจรัฐมาออกรายการและเกิดเหตุการณ์ภาพและเสียงถูกตัดออกไปบางส่วน โดยผู้มีอำนาจรัฐอ้างว่าเป็นการขัดข้องทางเทคนิคแต่ก็เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับผู้ที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์ ผู้มีอำนาจรัฐ และบางครั้งมีการแทรกแซงเสรีภาพของสื่อมวลชนด้วยการสั่งการทางโทรศัพท์
            การละเมิดเสรีภาพของสื่อมวลชนนับเป็นสถานการณ์การเมืองที่น่าห่วงใยอย่างหนึ่ง
สิทธิในทรัพย์สิน
สิทธิอะไรที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรามากที่สุด?
            สิทธิในทรัพย์สินและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
            ตามที่ได้กล่าวแล้วว่ามนุษย์เรามีร่างกายเป็นเรือนร่างสำคัญของชีวิต ร่างกายของคนเราหล่อเลี้ยงด้วยชีวปัจจัยที่สำคัญ คือ อาหาร บ้าน เสื้อผ้า ยารักษาโรค และเครื่องอำนวยความสะดวกต่อชีวิตต่างๆ ฯลฯ โดยทั่วไป สิ่งเหล่านี้คนเราจะได้มาก็จะต้องทำการผลิตหรือการทำงานโดยใช้เครื่องมือในการทำมาหากินอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ที่ดิน พืช วัว ควาย ไถ จอบ เสียม เครื่องจักร โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ เครื่องมือและผลิตผลถือเป็นทรัพย์สิน ผู้ผลิต ผู้หามาได้ย่อมมีสิทธิในทรัพย์อันนั้น โดยรัฐและสังคมจะรับรองโดยมีประเพณีและกฎหมายรับรองเป็นระบบกรมสิทธ์ต่างๆ
            สิทธิในทรัพย์สินจึงเป็นสิทธิมนุษยชนที่นำมาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต มีรายได้ มีฐานะ และศักดิ์ศรีในสังคม ทรัพย์สินของใคร ใครก็ย่อมแหนหวง ทรัพย์สินที่เราหามาได้ถูกแย่งชิงไป สังคมจะมีแต่ความไม่สงบสุข บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เกิดการทำร้ายร่างกายเพื่อแย่งชิงทรัพย์สินอย่างกว้างขวาง
            รัฐและสังคมจะต้องให้ความคุ้มครองปกป้องทรัพย์สินของพลเมืองเท่าที่จะทำได้ตั้งแต่ออกกฎหมาย วางนโยบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 ได้บัญญัติเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลไว้ในมาตรา 48 สรุปได้ว่า สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง และมาตรา 49 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะทำได้ถ้ามีเหตุยกเว้นบางประการและต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของที่ดิน
            เนื่องจากกรได้มาซึ่งทรัพย์สินและรายได้ส่วนใหญ่ของคนเรามาจากการทำมาหากิน ในปัจจุบันเรียกว่าการประกอบอาชีพ ที่ผ่านมาประชาชนพลเมืองจะประกอบอาชีพได้มากน้อยขึ้นกับความสามารถ ความถนัด ความต้องการความรู้ ความคิดเห็นของแต่ละคนอันสอดคล้องกับสภาพเศรษฐ์กิจ สังคม เสรีภาพในการประกอบอาชีพ จึงเป็นสิทธิทางเศรษฐ์กิจ รัฐจะต้องเคารพค้ำประกันเสรีภาพประการนี้ โดยการอนุญาต ส่งเสริม และอำนวยความสะดวก รวมทั้งสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง และที่สำคัญ รัฐจะต้องไม่ทำให้การประกอบอาชีพของพลเมืองโดยสุจริตมีอุปสรรค
            เสรีภาพในการประกอบอาชีพได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 อย่างน้อย 2 มาตรา คือ มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการ หรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยอย่างเป็นธรรม และมาตรา 87 สรุปได้ว่า รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐ์กิจแบบเสรีที่มีการกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐ์กิจ และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชนเสียเอง
ที่ผ่านมาและปัจจุบัน มีปัญหาใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทรัพย์สิน
            การเวนคืนที่ดินโดยรัฐ ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาของรัฐหลายโครงการที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมากจึงต้องมีการเวนคืนที่ดินของประชาชน การเวนคืนที่ดินดังกล่าว ถ้าจัดการไม่ดีก็จะกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน แต่ถ้ารัฐไม่สามารถเวนคืนที่ดินจากประชาชนได้เลย การพัฒนาก็จะไม่เกิดขึ้น จึงต้องหาดุลยภาพให้ดีระหว่างสิทธิของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ อย่างไรก็ดี ต้องมองว่าผู้ถูกเวนคืนที่ดินเป็นผู้เสียประโยชน์และเสียสละจึงต้องมีค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง สิ่งปลูกสร้างและเป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณูปโภคและผังเมือง การเวนคืนที่ดินหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นสร้างสะพาน ขยายถนน รถไฟฟ้า ถนนวงแหวน และทางด่วน ใช้เงินมากมายหลายพันล้านบาท บางครั้งผู้ถูกเวนคืนที่ดินรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม คือ ได้รับค่าเวนคืนที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และบางกรณีชุมชนมีความผูกพันกับบ้านเกิดเมืองนอนของตน จึงปฏิเสธไม่ยอมให้มีการเวนคืนที่ดินในชุมชนของตน ด้วยความคิดที่ว่า ถ้าปล่อยให้มีการเวนคืนที่ดินจะกระทบต่ออาชีพ วิถีชีวิต ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งเงินไม่ใช่คำตอบเพียงอย่างเดียวของการแก้ไขปัญหา
            ดังนั้น การเวนคืนที่ดินจึงสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับความเป็นชุมชน การทำงานของรัฐจึงต้องมีความรอบคอบ โปร่งใส มีส่วนร่วมมากกว่าเดิม เพราะถ้าเกิดจ่ายเงินค่าเวนคืนให้กับพื้นที่หนึ่ง แต่ชุมชนอีกพื้นที่หนึ่งไม่ยินยอมให้มีการเวนคืนที่ดิน โครงการฯ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม
สิทธิทางการศึกษา
            สิทธิมนุษยชนอะไรที่ทำให้มนุษย์มีความรู้ ความคิด และสติปัญญา?
สิทธิทางการศึกษา และเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิที่จะรู้
            สิทธิที่สำคัญมากประการหนึ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้เลย ซึ่งเป็นสิทธิที่จะทำให้คนเราได้มีวิชาความรู้ ความคิด สติปัญญา ความสามารถในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตทางสังคม สิทธิการศึกษานี้ไม่ได้หมายความถึงเพียงแต่การได้รับการศึกษาในระบบ หรือการศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่มีหลักสูตร การวัดและการประเมินผลที่แน่นอนเท่านั้น แต่รวมถึงการศึกษานอกระบบที่จัดนอกโรงเรียน มีความยืดหยุ่นมากกว่าและมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่ม อย่างไรก็ตาม มนุษย์สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะเรียนจบการศึกษาในระบบสูงเพียงใดก็ตาม ซึ่งสิทธิด้านการศึกษาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ พ.. 2540
            โดยทั่วไป ในการศึกษาเรียนรู้ไม่ว่าจะในหรือนอกระบบ วิชาความรู้ เป็นเพียงเงื่อนไขปัจจัยสำคัญประการหนึ่งซึ่งจะทำให้ถูกต้องมากน้อยเพียงใด นอกจากความรู้ ความสามารถ อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือแล้ว ยังขึ้นกับเสรีภาพของครู-อาจารย์ และนักวิชาการเป็นสำคัญ ถ้าใครมาปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการอย่างไม่มีเหตุผลก็หมายความว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการและโอกาสในการพัฒนาความรู้ รัฐธรรมนูญ พ.. 2540 ได้รองรับเสรีภาพทางวิชาการไว้ในมาตรา 42
            นอกจากนี้ ยังมิสิทธิประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทางการศึกษาและเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิทั้งหลายทั้งปวง คือ สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพราะเป็นสิทธิที่จะทำให้คนเราซึ่งเป็นพลเมือง ได้รู้ว่าทางการบ้านเมือง องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมจะทำอะไร หรือกำลังทำอะไร สิ่งนั้นจะมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนมากน้อยเพียงใด สิทธิที่จะรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิที่จะทำให้คนเราหู-ตาสว่าง และปกป้องสิทธิของเราได้มากขึ้น การที่หน่วยงานรัฐจะทำสิ่งใดที่กระทบสิทธิของเราก็จะต้องเป็นไปอย่างรอบคอบและพิจารณาอย่างรอบด้านมากขึ้น การจะเวนคืนที่ดินหรือการจะสร้างโครงการพัฒนาใด รัฐก็จะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องเสียก่อน หรือถ้าหน่วยงานรัฐไม่แจ้งข้อมูลให้ทราบเราก็มีสิทธิที่จะขอข้อมูลข่าวสารที่รัฐครอบครองได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งโครงการ ความจำเป็นต้องมีโครงการ แผนผัง แผนที่ รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคม ฯลฯ สิทธิดังกล่าวบัญญัติไว้ในมาตรา 58 รัฐธรรมนูญ พ.. 2540
            กรณีศึกษา สิทธิด้านการศึกษากับสิทธิในข้อมูลข่าวสาร
            นางสุมาลี ลิมปโอวาท แม่ของเด็กหญิงณัฐนิช ลิมปโอวาท ผู้สมัครเพื่อสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอตรวจดูและถ่ายสำเนากระดาษคำตอบและบุญชีคะแนนของเด็กหญิงณัฐนิช และของนักเรียนผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้น ป. 1 อีกจำนวน 120 คน แต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แจ้งว่าไม่เป็นเหตุอันสมควรที่จะดำเนินการให้ตามความประสงคได้
            ต่อมานางสุลี ได้มีหนังสือถึงประธาน คณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านสังคม ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่านางสุมาลี มีสิทธิขอตรวจดูและถ่ายสำเนากระดาษคำตอบและบัญชีของเด็กหญิงณัฐนิช และของนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้น ป.1 จำนวน 120 คนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติการทางปกครอง พ..2539 มิใช่กฎหมายที่คุ้มครองมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.. 2540 มาตรา 15 (6) (7)
            กรณีนักศึกษาดังกล่าวจะช่วยทำให้การเข้าถึงโอกาสในการศึกษาเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้และมีความถูกต้องและทำให้ระบบเส้นสายลดน้อยลง